ประวัติ ของ เอ็นเคเอฟ (รถดีเซลราง)

หลังจากการใช้งาน ทีเอชเอ็น (THN) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ารถดีเซลรางรุ่นก่อน ๆ ทั้งในแง่ความคล่องตัว และ ความเร็ว ประกอบกับช่วงเวลานั้นจำนวนผู้ใช้รถไฟชานเมืองค่อนข้างหนาแน่น การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงมีโครงการที่จะสั่งซื้อรถดีเซลรางเพิ่ม เพื่อนำมาใช้งานสำหรับรถชานเมืองโดยเฉพาะ และได้ออกมาเป็น เอ็นเคเอฟ (NKF) ใน พ.ศ.2528 โดยได้ปรับแบบจาก ทีเอชเอ็น (THN) บางส่วน เช่น ใช้เบาะนั่งแบบพลาสติกแข็ง เพื่อความคงทน และ รักษาความสะอาดได้ง่าย เหมาะกับการนั่งระยะไม่ไกลมาก ได้มีการนำหิ้งวางสำภาระบริเวณที่นัง เลขที่ 65-74 ออก และมีการเพิ่มประตูสำหรับเปิดดูเครื่องยนต์ได้จากบนพื้นรถ

เมื่อรับมอบ เอ็นเคเอฟ (NKF) ใน พ.ศ.2528 การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟก็ได้ใช้ เอ็นเคเอฟ (NKF) ในการทำขบวนรถชานเมืองและรถโดยสารเป็นหลัก และในปี พ.ศ. 2539 ก็ยังได้เริ่มนำไปใช้ใน ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลองอีกด้วย

แต่เนื่องจากการตรึงตัวในการใช้งาน การรถไฟแห่งประเทศไทย เลยมักจะนำ เอ็นเคเอฟ (NKF) ไปใช้ทำขบวนรถด่วน และ รถทางไกล ร่วมกับ ทีเอชเอ็น (THN) และ เอทีอาร์ (ATR) ด้วย โดยในปัจจุบัน เอ็นเคเอฟ (NKF) ก็ยังคงใช้งานเป็นกำลังหลักของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ เอ็นเคเอฟ (NKF) หลายคันก็ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนเบาะนั่งใหม่เป็นเบาะนวมและหนังเทียมเหมือนที่ใช้ใน ทีเอชเอ็น (THN)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอ็นเคเอฟ (รถดีเซลราง) http://ultimatekan.multiply.com/journal/item/10 http://gallery.rotfaithai.com/categories.php http://www.geocities.ws/railsthai/train01.htm https://web.archive.org/web/20160305133719/http://... https://www.prachachat.net/property/news-310867 https://en.wikipedia.org/wiki/Nippon_Sharyo https://ja.wikipedia.org/wiki/SUBARU https://ja.wikipedia.org/wiki/%E5%B7%9D%E5%B4%8E%E... https://ja.wikipedia.org/wiki/%E6%96%B0%E6%BD%9F%E... https://ja.wikipedia.org/wiki/%E8%BF%91%E7%95%BF%E...